เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: ใครเอ่ย
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีและไว้วางใจต่อเพื่อน ครู สถานที่ และบุคคลที่อยู่ในโรงเรียน รวมทั้งมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่สามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ทั้งการเล่น การแต่งกาย การกิน การนอน การทำงาน ฯลฯ เข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งต่างๆ ได้

week8


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของจิ้งหรีดและสัตว์อื่นๆ ได้


Week

Input

Process

Output

Outcome
8
29 มิ.ย. -   
 3 .. 58
โจทย์ :
- สัตว์ 6 ขา (แมลงปอ กุดจี่ จีนูน จิ้งหรีด ตั๊กแตน มดแดง)
- รูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างจิ้งหรีดและสัตว์อื่นๆ

Key  Questions
- สัตว์อะไรบ้างที่มี 6 ขา ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : นักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของจิ้งหรีดและสัตว์อื่นๆ
Wall  Thinking : ใบงานเขียนชื่อสัตว์ 6 ขาพร้อมระบายสี
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ตกแต่งกระถางดินเผาตามจินตนาการ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรีย
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บริเวณรอบๆ โรงเรียน
- นิทานเรื่องจิ้งหรีดขาว
- เพลง “แมลง”
- การทดลองเพาะถั่วในสำลี
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบบริเวณโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนเห็นอะไร และได้เรียนรู้อะไรจากการเดินสำรวจ?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าสัตว์อะไรที่มี 6 ขาเหมือน/ต่างกันอย่างไร ?
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “จิ้งหรีดขาว” เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะของสัตว์ 6 ขา
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของจิ้งหรีด โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- จิ้งหรีดมีรูปร่าง ลักษณะอย่างไร?
- ตั๊กแตนกับจิ้งหรีดเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
- จิ้งหรีดมีอวัยวะส่วนไหนบ้างที่เหมือนหรือแตกต่างจากคนอย่างไร ?
ใช้ : นักเรียนเขียนชื่อสัตว์ 6 ขาพร้อมระบายสี
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูพานักเรียนร้องเพลง “แมลง”
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเนื้อหาเพลงที่ฟัง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ ของจิ้งหรีดโดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าจิ้งหรีดมีหน้าตาเหมือนคนจะเป็นอย่างไร ?
ใช้ : นักเรียนตกแต่งกระถางดินเผาตามจินตนาการ
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง)
ชง :  ครูเล่าประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เคยได้รับจากอันตรายจากสัตว์ต่างๆ เช่น วัว กระบือแมว สุนัข ผึ้ง แมงป่อง และให้นักเรียนร่วมเล่าประสบการณ์ของตัวเองที่เคยพบเจอให้เพื่อนฟัง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนา ระดมความ
คิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการหลีกเลี่ยงอันตรายจากสัตว์ต่างๆ เช่น วัว กระบือแมว สุนัข ผึ้ง แมงป่อง โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- ถ้านักเรียนเจอแม่ไก่กำลังหวงลูกนักเรียนจะทำอย่างไร / เพราะอะไร ?
- ถ้านักเรียนเจอรังผึ้งอยู่บนต้นไม้นักเรียนจะทำอย่างไร / เพราะอะไร ?
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำสิ่งของที่เตรียมไว้มาให้นักเรียนสังเกต
(กล่องใส สำลี น้ำ เมล็ดถั่วชนิดต่างๆ)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ?” “นักเรียนคิดว่าจะนำมาทำอะไร?
- ครูแจกเมล็ดถั่ว สำลี ให้นักเรียนแต่ละคนได้สัมผัส
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด รู้สึกอย่างไร  เพราะอะไร?
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันทดลอง เพาะถั่วในสำลี
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าเมล็ดถั่วจะใช้เวลากี่วันในการงอก เพราะอะไร?ถ้าเราปิดกล่องไว้ต้นถั่วจะเป็นอย่างไร ?
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลองเพาะถั่วในสำลี
ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของจิ้งหรีดและสัตว์อื่นๆ
- พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการทดลอง เพาะถั่วในสำลี
- ถาม-ตอบ เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง

ชิ้นงาน
- เขียนชื่อสัตว์ 6 ขาพร้อมระบายสี
- ตกแต่งกระถางดินเผาตามจินตนาการ
- การทดลองเพาะถั่วในสำลี
ความรู้
สามารถอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของอวัยวะของจิ้งหรีดและสัตว์อื่นๆ ได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสังเกต ฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหา
ในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสังเกต
- สังเกตภาพความเหมือนหรือความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆ
- สามารถตอบ – คำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเราและสิ่งมีชีวิตอื่นได้
- สามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ตา หู จมูก ลิ้น มือ ในการทำกิจกรรมหรือการทดลองและสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู หรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่ชีวิต เพื่อเชื่อมโยงสู่ตัวเราได้

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและ
เชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน



ตัวอย่างภาพกิจกรรม




ตัวอย่างชิ้นงาน


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2558 เวลา 14:18

    สัปดาห์ที่ 8 น้องๆ อนุบาล 1 เรียนรู้เกี่ยวกับ 6 เท้า เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงปอ จีนูน กุดจี่ แมลงสาบ ฯลฯ โดยครูเล่านิทานเรื่องจิ้งหรีด ร้องเพลงแมลงหกขา ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสัตว์อะไรบ้างที่มี 6 ขา ?”
    น้องไดมอนด์ : แมลงจีนูนแมลงกูดจี่ผมเคยเห็นที่สนามครับ
    น้องหนูดี : แมลงสาบค่ะ
    น้องวันใหม่ : แมลงปอค่ะ
    น้องอุ้ม : ผีเสื้อค่ะ
    น้องอ๋อม : มดแดงค่ะ
    วันต่อมาคุณครูพาเด็กๆ เดินสำรวจบริเวณรอบ ๆ โรงเรียนว่ามีสัตว์อะไรบ้างที่มี 6 ขา น้องๆ ช่วยกันสำรวจสัตว์อยู่ในบริเวณสนามหญ้า โดยครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นสัตว์อะไรบ้างและมีลักษณะอย่างไร อาศัยที่ไหน กินอะไรเป็นอาหาร จากนั้นน้องๆ ก็เจอลูกตั๊กแตนตัวเล็กเด็กได้เรียนรู้จักสิ่งที่เขาเห็นของจริง ก็จะช่วยกันจับและมีสัตว์ที่เป็น 6 ขาเป็นจำนวนมาก เช่น ตั๊กแตนที่มีสีหลากหลาย ทั้งสีน้ำตาล สีเขียว และมีลักษณะที่แตกต่างกัน แล้วก็พาเด็กๆไปดูจิ้งหรีดที่พี่ ป.4ได้เลี้ยงไว้ 3 บ่อ เด็กได้เรียนรู้และสังเกต รูปร่างลักษณะฯลฯ เด็กๆสามารถวาดเป็นรูปร่างจากสิ่งที่เขาเคยพบเห็นมาแล้วนำมาวาดและเล่าถ่ายทอดให้กับผู้อื่นเข้าใจได้ค่ะ
    ในวันพุธ น้องๆ ได้ร่วมเรียนรู้กิจกรรมเทศกาลขนมแห่งรัก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง ครู เด็ก ผู้ปกครอง และในสัปดาห์นี้จะเป็นเมนู ขนมใส่ไส้ ซึ่งมีผู้ปกครองอาสาช่วย คือ แม่น้องหนูยิ้ม แม่น้องพลอย ป้าน้องใบพลู และพ่อน้องไดมอนด์ น้องๆให้ความสนใจ สนุกกับการทำกิจกรรม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ หลังจากรับประทานอาหารแล้วก็พาเด็กๆไปดูหม่อนไหมที่พี่ ป.3 เลี้ยงเด็กตื่นเต้นเพราะแถวบ้านจะไม่ค่อยมี เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับหนอนไหม ว่ามีวงจรชีวิตอย่างไร กินอะไรเป็นอาหาร มีลักษณะเป็นอย่างไร ตัวสีอะไร เด็กๆ บางคนก็จะกลัวไม่กล้าจับแต่มีความสนใจอยากรู้อยากเห็น
    วันถัดมากิจกรรมให้น้องๆ ตกแต่งกระถางเพื่อนำมาปลูกพืช เด็กๆสามารถเลือกสีที่หลากหลายและพึงพอใจในผลงานของตนเอง การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีความคิดจินตนาการในการออกแบบระบายสีกระถางของตนเองตามจินตนาการ ค่ะ และในวันศุกร์มีกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทดลองปลูกเมล็ดถั่ว โดยครูใช่คำถามกระตุ้นการคิด มีลักษณะเป็นอย่างไร เคยเห็นที่ไหนบ้าง สีอะไร เด็กๆคิดว่าเราปลูกได้ที่ไหนปลูกใส่อะไรได้บ้าง ครูให้เด็กปลูกเมล็ดถั่งคนละ 5 เม็ด เด็กก็จะมีกระถามเป็นของเขาที่ระบายสีไว้เมื่อวันพฤหัส โดยปลูกใส่สำลีจุ่มน้ำแล้วนำถั่วปลูกลงไป น้องไดมอนด์บอกว่าเมล็ดถั่งจะไม่เกิดเพราะปลูกใส่สำลี เพราะเขาปลูกได้เฉพาะในดินเท่านั้น สัปดาห์นี้น้องๆ ให้ความสนใจ และสนุกสนานกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเดินสำรวจสัตว์ที่อยู่ในโรงเรียน ร้องเพลง การฟังนิทาน การลงมือทำขนมใส่ไส้ การทดลองปลูกถั่วและการเขียน/ระบายสีเกี่ยวกับสัตว์ 6 ขา ทุกคนสามารถปรับตัวยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ