เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: ใครเอ่ย
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีและไว้วางใจต่อเพื่อน ครู สถานที่ และบุคคลที่อยู่ในโรงเรียน รวมทั้งมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่สามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ทั้งการเล่น การแต่งกาย การกิน การนอน การทำงาน ฯลฯ เข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งต่างๆ ได้

week6


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของอวัยวะหมูและสัตว์อื่นๆ ได้


Week

Input

Process

Output

Outcome
6
15 – 19
 มิ.. 58-

โจทย์ :
- สัตว์ 4 ขา ( หมู วัว กระบือสุนัข แมว ฯลฯ)
- รูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของอวัยวะของหมูและสัตว์อื่นๆ
Key  Questions
- สัตว์อะไรบ้างที่มี 4 ขา ?
- นักเรียนคิดว่าหมูกับสุนัขเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ?
เครื่องมือคิด
Brainstorms : นักเรียนระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของอวัยวะของหมูและสัตว์อื่นๆ
Wall  Thinking : ใบงานระบายสีภาพรูปร่าง ลักษณะของหมูพร้อมเขียนคำศัพท์
ประกอบชื่ออวัยวะ
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ประดิษฐ์หน้ากากสัตว์แสนสวย
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรีย
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บริเวณรอบๆ โรงเรียน
- นิทานเรื่องเที่ยวฟาร์มแสนสุข
- ภาพโปสเตอร์รูปร่าง ลักษณะของหมูและสัตว์อื่นๆ
- ทดลอง แฟนซีผักกาด
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง)
ชง
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจสิ่งมีชีวิตรอบบริเวณโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนเห็นอะไร และได้เรียนรู้อะไรจากการเดินสำรวจ?
เชื่อม
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็นจากการสำรวจรอบๆ บริเวณโรงเรียน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนคิดว่าสัตว์อะไรที่มี 4 ขาเหมือน/ต่างกันอย่างไร ?
ใช้ : นักเรียนเขียนชื่อสัตว์ 4 ขาพร้อมระบายสี
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูเล่านิทานเรื่อง “เที่ยวฟาร์มแสนสุข” เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะของหมู
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของหมู โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- หมูมีรูปร่าง ลักษณะอย่างไร?
- ถ้าหมูมีหน้าตาเหมือนคนจะเป็นอย่างไร?
ใช้ : นักเรียนทำใบงานระบายสีภาพรูปร่าง ลักษณะของหมูพร้อมเขียนคำศัพท์ประกอบชื่ออวัยวะ
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง : ครูนำภาพโปสเตอร์รูปร่าง ลักษณะของหมูและสัตว์อื่นๆ มาให้นักเรียนสังเกต
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนา ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะ และหน้าที่ของอวัยวะของสัตว์ต่างๆ โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- หมูกับกระบือมีความเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร / เพราะอะไร ?
- ปลาใช้อะไรหายใจ / ทำไมถึงใช้อวัยวะส่วนนั้น ?
ใช้
:  นักเรียนประดิษฐ์หน้ากากสัตว์แสนสวย
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง)
 ชง : ครูกระตุ้นด้วยปริศนาคำทายเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างอวัยวะ / ส่วนประกอบของหมู
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง

เชื่อม :
 - นักเรียนเล่นเกมเลียนแบบพฤติกรรมสัตว์ที่รู้จักให้เพื่อนทาย
  - นักเรียนร่วมกันระดมความคิดหาคำตอบว่าเป็นพฤติกรรมของสัตว์อะไร
 - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนา ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมือน / ความแตกต่างของพฤติกรรมของหมูและสัตว์อื่นๆ โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- เวลาสัตว์ร้อง เช่น หมู กระบือ กระต่ายร้อง นักเรียนคิดว่าเขาต้องการอะไร / เพราะอะไร ?
- ถ้านักเรียนพูดไม่ได้แล้วนักเรียนหิวข้าวนักเรียนจะทำอย่างไร / เพราะอะไร?
วันศุกร์ ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำสิ่งของที่เตรียมไว้มาให้นักเรียนสังเกต
(แก้วน้ำ สีผสมอาหาร ผักกาด)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ?” “นักเรียนคิดว่าจะนำมาทำอะไร?
- ครูให้นักเรียนได้สัมผัสกับอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร เพราะอะไร?” 
- ครูนำแก้วที่เตรียมไว้ เติมน้ำลงไปแล้วนำสีผสมอาหารและผักกาดลงไป ให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด เกิดอะไรขึ้นกับผักกาด ?
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ : นักเรียนลงมือทำการทดลอง แฟนซีผักกาด

ภาระงาน
- แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของอวัยวะของหมูและสัตว์อื่นๆ
- พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการทดลอง แฟนซีผักกาด
- ถาม-ตอบ เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง

ชิ้นงาน
- เขียนชื่อสัตว์ 4 ขาพร้อมระบายสี
- ระบายสีภาพรูปร่าง ลักษณะของหมูพร้อมเขียนคำศัพท์ประกอบชื่ออวัยวะ
- ประดิษฐ์หน้ากากสัตว์แสนสวย

ความรู้
นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ / หน้าที่ / ความเหมือนหรือความแตกต่างของอวัยวะของหมูและสัตว์อื่นๆ ได้

ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสังเกต ฟังนิทาน รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดการปัญหา
ในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสังเกต
- สังเกตภาพความเหมือนหรือความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆ
- สามารถตอบ – คำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวเราและสิ่งมีชีวิตอื่นได้
- สามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ตา หู จมูก ลิ้น มือ ในการทำกิจกรรมหรือการทดลองและสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครู หรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่ชีวิต เพื่อเชื่อมโยงสู่ตัวเราได้

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและ
เชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน




ตัวอย่างภาพกิจกรรม

ตัวอย่างชิ้นงาน






1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 6 น้องๆ อนุบาล 1 เรียนรู้เกี่ยวกับ 4 เท้า และรูปร่างลักษณะของหมู/สัตว์อื่นๆ โดยครูเล่านิทานเรื่อง “เที่ยวฟาร์มแสนสุข”/ภาพโปสเตอร์/ปริศนาคำทายเกี่ยวกับเรื่องอวัยวะ / ส่วนประกอบของหมู/บทบาทสมมติท่าทางพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆ/เรื่องเล่าประสบการณ์ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสัตว์อะไรบ้างที่มี 4 เท้า ?”
    น้องไดมอน : วัว,สิงโต,ม้าครับ
    น้องแสตม์ : หมู,จิ้กจกครับ
    น้องกาย : ช้างครับ
    น้องหนูดี : ไดโนเสาร์ค่ะ
    น้องสายไหม : แมวค่ะ
    น้องอ๋อม : กวางค่ะ
    น้องกาแฟ : กระบือ,ตุ๊กแตครับ
    น้องอุ้ม : สุนัขค่ะ
    น้องพลอยใส : กระต่ายค่ะ
    น้องหนูยิ้ม : ลิงค่ะ
    จากนั้นเด็ก ๆ ได้ทำใบงานระบายสีภาพรูปร่าง ลักษณะของสัตว์ 4 เท้า พร้อมเขียนคำศัพท์ประกอบชื่ออวัยวะและประดิษฐ์หน้ากากสัตว์ที่ตัวเองชื่นชม และในวันศุกร์ทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ ผักกาดเปลี่ยนสี โดยครูแนะนำอุปกรณ์ และขั้นตอนการทำมาให้เด็กๆ สังเกตและทดลอง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เด็กๆ สังเกตเห็นอะไรบ้าง ?”
    น้องไดมอนด์ : เห็นผักที่แตกออกเป็น 5 เส้นแล้วก็ดูดน้ำขึ้นไปข้างบนครับ
    น้องอ๋อม: เห็นสีที่ขึ้นอยู่ในผักค่ะ
    น้องหนูดี : เห็นสีที่แตกต่างกันมีสีแดง เหลือง ขาวค่ะ
    น้องอุ้ม : เห็นผักเปลี่ยนสีค่ะ
    ในสัปดาห์นี้ยังมีกิจกรรมเทศกาลขนมแห่งจะเป็นเมนู ขนมต้มใบเตย ผู้ปกครองอาสาในสัปดาห์นี้ คือ แม่น้องอิม แม่น้องอุ่นบุญ ยายน้องกาแฟ แม่น้องสาว พ่อน้องภูมิ เด็กๆ ให้ความสนใจ สนุกกับการทำกิจกรรมและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น คุณครูสังเกตเห็นเด็กๆ หลายคน รู้จักการแบ่งปันอุปกรณ์การทำขนมให้กับเพื่อน และสามัคคีช่วยเหลือกันในกลุ่มเด็กๆ สามารถทำได้เยี่ยมมากค่ะและมีกิจกรรมไหว้ครูในวันพฤหัสบดีนี้เด็กๆทุกคนได้เตรียมสิ่งของที่จะมาไหว้ครู เช่น พวงมาลัย ดอกไม้ ฯลฯ เด็กๆ ตื่นเต้น ดีใจมากและสนุกในการทำกิจกรรมตลอดทั้งสัปดาห์นี้ค่ะ

    ตอบลบ