เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: ใครเอ่ย
เป้าหมาย(Understanding Goal) :

สามารถปรับตัวเข้ากับวิถีและไว้วางใจต่อเพื่อน ครู สถานที่ และบุคคลที่อยู่ในโรงเรียน รวมทั้งมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านที่สามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้ทั้งการเล่น การแต่งกาย การกิน การนอน การทำงาน ฯลฯ เข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองกับสิ่งต่างๆ ได้

week7


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับการเลี้ยงดู/ การดูแล / วงจรชีวิต / การเจริญเติบโตของหมูและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้



Week

Input

Process

Output

Outcome
7
22 – 26
 มิ.. 58
โจทย์ :
วงจรชีวิต / การเจริญเติบโต Key  Questions
คนกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีการเจริญเติบโตที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

เครื่องมือคิด
Brainstorms :
ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลี้ยงดู/ การดูแล / วงจรชีวิต / การเจริญเติบโตของหมูและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
Wall  Thinking : ใบงานนักเรียนเขียนและระบายสีวงจรชีวิตของหมู
Blackboard  Share : การเจริญเติบโต
Show and Share : นำเสนอชิ้นงานประดิษฐ์เทียนแสนสวย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
- วิทยากร(ลุงตู่)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- บริเวณรอบๆ โรงเรียน
- นิทานเรื่อง “หมูน้อยไม่สบาย”
- คลิปวีดีโอการเกิดของหมู สัตว์อื่นๆและคน
- นิทานเรื่อง “ผีเสื้อแสนสวย”
- การทดลองประดิษฐ์เจลเทียนแสนสวย
วันจันทร์ ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
- เชิญวิทยากร(ลุงตู่)แนะนำเกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงดู / ดูแลหมู / การเจริญเติบโตของหมู
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลี้ยงดูหมูโดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- นักเรียนคิดว่าหมูกินอะไรเป็นอาหาร
?
- นักเรียนมีวิธีเลี้ยงดูหมูและสัตว์เลี้ยงของตัวเองได้อย่างไรบ้าง?
- นักเรียนมีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง?
- หมูเกิดมาได้อย่างไร ?
วันอังคาร (1 ชั่วโมง)
ชง :
  - ครูเล่านิทานเรื่อง “หมูน้อยไม่สบาย” พร้อมวาดภาพประกอบ
  - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังเชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความ คิดเห็นเกี่ยวกับโรคและการป้องกัน
โรคของหมู / คนตลอดจนการดูแลร่างกายให้ปลอดภัยจากโรค โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- เวลาที่สัตว์ไม่สบายเราสังเกตได้จากอะไรบ้าง / เพราะอะไร?
- นักเรียนมีวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงที่ป่วยได้อย่างไรบ้าง?
- นักเรียนมีวิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง
?
ใช้ : นักเรียนปั้นดินน้ำมันรูปปั้นดินน้ำมันรูปการดูแลตัวเองเมื่อมีอากาศร้อน / หนาว / ฝนตก
วันพุธ ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
- นักเรียนดูคลิปวีดีโอเรื่อง “การเกิดของหมู สัตว์อื่นและคน” เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดของหมู, สัตว์อื่นและคน
 - ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ดู
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิดของหมู สัตว์อื่นๆและคน โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
- หมูเกิดมาได้อย่างไร
?
- สัตว์อื่นๆ (กบ ช้าง กระต่าย) เกิดมาได้อย่างไร
?
รู้จักมีการเจริญเติบโตอย่างไรบ้าง?
- คนเกิดมาได้อย่างไร?
ใช้ :นักเรียนเขียนและระบายสีวงจรชีวิตของหมู
วันพฤหัสบดี ( 1 ชั่วโมง)
ชง :
 - ครูเล่านิทานเรื่อง “ผีเสื้อแสนสวย” เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับวงจรชีวิตของสัตว์อื่น ๆ
- ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับวงจรชีวิต / การเจริญเติบโตของหมูสัตว์อื่น โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนนักเรียนคิดว่าหมูมีการเจริญเติบโตอย่างไรบ้าง
?
วันศุกร์ (1 ชั่วโมง)
ชง :
- ครูนำสิ่งของที่เตรียมไว้มาให้นักเรียนสังเกต
(แก้ว ทรายสี เจลเทียน เม็ดกวาด)
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร ?” “นักเรียนคิดว่าจะนำมาทำอะไร?
- ครูให้นักเรียนได้สัมผัสกับอุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้
 - ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้สึกอย่างไร เพราะอะไร?”
- ครูนำเจลเทียนไปละลาย ให้นักเรียนสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด เกิดอะไรขึ้นกับเจล เทียน ?
- ครูนำทรายสีใส่ในแก้วแล้วเอาเจลเทียนใส่รอจนเจลเทียนแห้ง ให้นักเรียนสังเกต
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมที่ได้ทำ
ใช้ : นักเรียนลงมือทำการทดลองประดิษฐ์เทียนแสนสวย
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลี้ยงดู/ การดูแล / วงจรชีวิต / การเจริญเติบโตของหมูและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ - แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ “การเกิดของหมู”
- พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการทดลอง ประดิษฐ์เทียนแสนสวย
- ถาม-ตอบ เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง

ชิ้นงาน
- ปั้นดินน้ำมันรูปปั้นดินน้ำมันรูปการดูแลตัวเองเมื่อมีอากาศร้อน / หนาว / ฝนตก
- เขียนและระบายสีวงจรชีวิตของหมู
- ประดิษฐ์เทียนแสนสวย

ความรู้
 สามารถอธิบายเกี่ยวกับการเลี้ยงดู/ การดูแล / วงจรชีวิต / การเจริญเติบโตของหมูและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- สามารถปฏิบัติกิจกวัตรประจำวันและดูแลตนเองได้
ทักษะการคิด
- การคิดวิจารณญาณ  โดยพูด อธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับความเหมือน / แตกต่างระหว่างการเกิดของหมูและสิ่งมีชีวิตอื่น
 - คิด วัด ตัก ตวง ในการประกอบอาหารให้หมู
-  คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้
ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสังเกต
- สังเกตความเหมือนความแตกต่างสิ่งต่างๆ โดยรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
- สังเกตการวัด ตัก ตวง ในการประกอบอาหารให้หมู
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
สามารถค้นหาข้อมูลจากการสอบถาม ครูผู้ปกครองหรือผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองสนใจ

คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่
- มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน
- กระตือรือร้นในการเรียนรู้
- มีจิตอาสาในการทำกิจกรรมต่างๆ มีน้ำใจช่วยเหลือ แบ่งปัน
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน


ตัวอย่างกิจกรรม


ตัวอย่างชิ้นงาน

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 7 น้องๆ ยังเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ 4 เท้าต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และในสัปดาห์นี้จะเข้าสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับ ที่อยู่อาศัย /การดูแลรักษา/วงจรชีวิตของสัตว์และคน เพื่อเห็นเชื่อมโยงเข้าสู่ตัวเรา คุณครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด เช่น หมูอาศัยอยู่ที่ไหนได้บ้าง
    น้องไดมอนด์ : ในเล้าครับ
    น้องสาว : ในคอกค่ะ
    น้องแสตม์ : ในป่าครับ
    น้องอ๋อม : อยู่ในกรงค่ะ
    น้องฮิว : อยู่ในฟาร์มครับ
    วันต่อมาคุณครูพาน้องๆ ไปเดินสำรวจคอกหมูที่อยู่ในบริเวณโรงเรียนและมีคุณลุงตู่เป็นวิทยากร น้องๆทุกคนรู้สึกตื่นเต้นและอยากที่จะถามคุณลุงตู่เกี่ยวกับพี่หมู เช่น
    น้องกร : พี่หมูกินอะไรเป็นอาหารครับ
    น้องใบพูล : พี่หมูเกิดมาได้อย่างไรค่ะ
    น้องหนูดี : พี่หมูตั้งท้องกี่เดือนค่ะ
    น้องสาว : พี่หมูออกลูกกี่ตัวค่ะ
    น้องกาย : พี่หมูมีสีอะไรบ้างครับ
    ในวันพุธ น้องๆ ได้ร่วมเรียนรู้กิจกรรมเทศกาลขนมแห่งรัก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่าง ครู เด็ก ผู้ปกครอง และในสัปดาห์นี้จะเป็นเมนู ขนมครกไข่ ซึ่งมีผู้ปกครองอาสาช่วย คือ แม่น้องน็อต แม่น้องกร แม่น้องสายไหม แม่น้องอุ้ม แม่น้องแสตม์ น้องๆให้ความสนใจ สนุกกับการทำกิจกรรม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ คุณครูสังเกตเห็นน้องๆ หลายคนไม่ชอบทานไข่และผัก พอได้ทำขนมครกไข่น้องๆ ได้ชิมและเพิ่มจนอิ่ม เช่น น้องฮิว น้องพลอยใส น้องอิ่มบุญ เป็นต้น
    วันพฤหัสบดีน้องๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงจรชีวิตของหมูและสัตว์อื่นๆ โดยครูเล่านิทาน “คุณแม่พุงโต” เพื่อให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดของหมู ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เด็กๆ คิดว่าพี่หมูเกิดมาได้อย่างไร ?” น้องๆทุกคนช่วยกันตอบ เริ่มจากตัวเมียกับตัวผู้รักกันแล้วก็ผสมพันธุ์กัน จากนั้นแม่หมูก็ท้องและก็คลอดลูกออกมาแล้วก็กลายเป็นหมูตัวใหญ่
    และในวันศุกร์น้องๆ ทุกคนได้ประดิษฐ์เจลเทียนโดยครูแนะนำอุปกรณ์และขั้นตอนการทำมาให้เด็กๆ สังเกตและทดลอง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เด็กๆ เกิดอะไรขึ้นกับเจลเทียนที่กำลังโดนความร้อน ?”
    น้องไดมอนด์ : เกิดละลายแล้วก็กลายป็นน้ำครับ
    น้องแสตม์ : เป็นน้ำร้อนคับ
    น้องหนูดี : มีไอขึ้นมาค่ะ จากนั้นน้องๆ ก็ได้ลงมือประดิษฐ์เจลเทียนโดยคุณครูเป็นคนหยดเจลให้กับเด็กๆ ค่ะ สัปดาห์นี้น้องๆ ให้ความสนใจ และสนุกสนานกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเดินสำรวจสัตว์ที่อยู่ในโรงเรียน ร้องเพลง การฟังนิทาน การประดิษฐ์เจลเทียน การลงมือทำขนมครกไข่
    และการเขียน/ระบายสีเกี่ยวกับวงจรชีวิตของหมู ในสัปดาห์นี้ทุกคนสามารถปรับตัวพร้อมที่จะเรียนรู้ยอดเยี่ยมมากค่ะ

    ตอบลบ